การจัดอันดับโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของ การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Academic Ranking of World Universities

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Academic Ranking of World Universities หรือ ARWU ประจำปี 2017 จัดโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทงของประเทศจีน โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงในวารสารชั้นนำของโลก ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ เป็นต้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 401-500 ของโลก[2][4]

Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2017 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 458 ของโลก[5]

Center for World University Rankings

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำ พ.ศ. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 308 ของโลก[6]

Nature Index

Nature Index เป็นดัชนีชี้วัดผลผลิตด้านการวิจัย จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group จัดอันดับทั้งสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก สำหรับปี 2017 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย[7][8][9]

คอกโครัลลีไซมอนส์[10]

คอกโครัลลีไซมอนส์ หรือ British Quacquarelli Symonds (QS) เป็นบริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีการจัดอันดับครอบคลุมในหลายมิติ เช่น การจัดอันดับเป็นระดับโลก (QS World University Rankings) ระดับทวีปเอเชีย (QS University Rankings: Asia) การจัดอันดับแยกตามคณะ (QS World University Rankings by Faculty) การจัดอันดับแยกตามรายวิชา (QS World University Rankings by Subject) การจัดอันดับคุณภาพบัณฑิต (QS Graduate Employability Rankings 2017) เป็นต้น[11]

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 245 ของโลก[12][11][13]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[14]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน Scopus และ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้น ๆ เอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[15]

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 44 ของเอเชีย[16][11][13]

QS World University Rankings by Subject[17]

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject สาขาวิชาเฉพาะ
อันดับโลกสาขาวิชา
48
  • Mineral & Mining Engineering
51 – 100
  • Chemical Engineering
101 – 150
  • Accounting & Finance
  • Architecture / Built Environment
  • Environmental Sciences
  • Geography
  • Modern Languages
  • Pharmacy & Pharmacology
  • Politics & International Studies
151 – 200
  • Business & Management Studies
  • Chemistry
  • Civil & Structural Engineering
  • Electrical & Electronic Engineering
  • Linguistics
  • Materials Science
  • Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering
  • Medicine
  • Sociology
201 – 250
  • Biological Sciences
  • Computer Science & Information Systems
  • Economics & Econometrics
301 – 350
  • Physics & Astronomy

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำ พ.ศ. 2561 แบ่งการประกาศออกเป็น 2 แบบ คือ 1) แบบสาขาวิชาเฉพาะ 2) แบบกลุ่มสาขาวิชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสาขาเฉพาะ และกลุ่มสาขาวิชาติดอันดับโลกมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีสาขาวิชาเฉพาะที่ติดอันดับโลก 22 สาขา และติดอันดับโลกทั้ง 5 กลุ่มสาขาวิชาที่ QS ทำการจัดอันดับ โดยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย 4 กลุ่มสาขาวิชาจาก 5 กลุ่ม และเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย 1 กลุ่มสาขาวิชา

อันดับที่ 48 ของโลก

  • สาขา Mineral & Mining Engineering โดยเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้[18]

อันดับที่ 51 – 100 ของโลก

  • สาขา Chemical Engineering[19]

อันดับที่ 101 – 150 ของโลก

  • Accounting & Finance (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)
  • Architecture / Built Environment
  • Environmental Sciences
  • Geography (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)
  • Modern Languages
  • Pharmacy & Pharmacology
  • Politics & International Studies (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)

อันดับที่ 151 – 200 ของโลก

  • Business & Management Studies
  • Chemistry
  • Civil & Structural Engineering
  • Electrical & Electronic Engineering
  • Linguistics
  • Materials Science (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)
  • Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering
  • Medicine
  • Sociology (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)

อันดับที่ 201 – 250 ของโลก[11]

  • Biological Sciences
  • Computer Science & Information Systems
  • Economics & Econometrics

อันดับที่ 300 – 350 ของโลก

  • Physics & Astronomy (มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลกในสาขานี้)

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย จำนวน 19 สาขาวิชา ดังนี้[20]

สาขา Accounting & Finance, Architecture / Built Environment, Biological Sciences, Business & Management Studies, Chemical Engineering, Chemistry, CiviI & Structural Engineering, Computer Science & Information System, Economics & Econometrics, Electrical & Electronic Engineering, Environmental Science, Geography, Linguistics, Materials Science, Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering, Mineral & Mining Engineering, Modern Languages, Physics & Astronomy, Politics & International Studies, Sociology

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject แบบกลุ่มสาขาวิชา
อันดับโลกอันดับในไทยกลุ่มสาขาวิชา
1391
  • Social Sciences and Management
1401
  • Engineering and Technology
1971
  • Arts and Humanities
2152
  • Life Sciences and Medicine
2661
  • Natural Science

QS Graduate Employability Rankings 2017

เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 181-190 ของโลก เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกและเดียวที่อยู่ใน 200 อันดับแรกของโลก[21][11]

QS World University Rankings 2021

ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 QS World University Rankings 2021 จัดอันดับให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่อันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 96 ของโลก ในด้านมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ นับเป็นอันดับที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเท่าที่เคยได้รับการจัดอันดับมา[3]

Round University Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2018 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (A Ranking of Leading World Universities มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 465 ของโลก[22][23]

การจัดอันดับ RUR Reputation Rankings 2017 ซึ่งเป็นการจัดอันดับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 194 ของโลก[24]

การจัดอันดับ RUR Research Performance World University Rankings 2016 ซึ่งเน้นไปที่ศักยภาพการทำวิจัยพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 424 ของโลก[25]

SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ใน พ.ศ. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 456 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย[26]

The Times Higher Education

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีเกณฑ์การจัดอันดับในด้าน คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง ความเป็นนานาชาติ และ รายได้ทางอุตสาหกรรม ใน พ.ศ. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 601-800 เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย[27][28]

University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP พ.ศ. 2559-2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับ 474 ของโลก[29] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

U.S. News & World Report

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2018” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 539 ของโลก[30]

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัดอันดับ
QS GER (2019)1(181-190)
UI Green (Overall) (2018)3(95)
UI Green (City Center) (2018)1(14)
Webometrics (2019)1(490)

UI Green Metric World University Ranking

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2561 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 3 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 90 ของโลก[31] และเป็นอันดับ 1 ของไทย อันดับที่ 14 ของโลกในการจัดอันดับประเภทมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตใจกลางเมือง[32]

Webometrics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำ พ.ศ. 2562 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วย Search Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 2 ประจำ พ.ศ. 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 490 ของโลก[33]

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.leidenranking.com/ranking/2017/list http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.natureindex.com/institution-outputs/tha... http://roundranking.com/ranking/performance-rankin... http://roundranking.com/ranking/reputation-ranking... http://roundranking.com/ranking/world-university-r... http://roundranking.com/universities/chulalongkorn... http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://shanghairanking.com/ARWU2017.html http://shanghairanking.com/World-University-Rankin...